top of page
Siri Writer

ยาเพร็พ (PrEP) ยาต้านก่อนเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี

Updated: Dec 10, 2023

ยาต้านไวรัสเอชไอวี (Exposure prophylaxis) เป็นยาที่กินเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เท่านั้น คือ ใช้เป็นยาเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี มีการใช้ใน 2 ลักษณะ คือ ช่วงก่อน หรือหลังจากมีการสัมผัสเชื้อเอชไอวี โดยยาที่กินเพื่อลดความเสี่ยงก่อนการติดเชื้อเอชไอวี เรียกว่า ยาเพร็พ (PrEP) และยาที่กินเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีหลังจากสัมผัสเชื้อ เรียกว่า ยาเป๊ป (PEP)


ยาต้านไวรัสเอชไอวี เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง หรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้สูงสุดถึง 99% หากมีการใช้อย่างถูกวิธี ฉะนั้นควรมีความรู้เกี่ยวกับยาเพร็พ วิธีกินยา หยุดยา และประสิทธิภาพการป้องกัน ยาเพร็พ หรือยาต้านก่อนเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี ที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักเท่าไรนัก เนื่องจากเป็นยาที่ต้องทำการสั่งจ่ายโดยแพทย์ และสถานพยาบาลเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อรับประทานเองได้ตามร้านขายยาทั่วไป


โดยเฉพาะในบทความนี้ที่เน้นความรู้เกี่ยวกับยาต้านก่อนติดเชื้อเอชไอวี หรือยาเพร็พ(PrEP) ที่มีผลข้างเคียงน้อยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี

รูปภาพเกี่ยวกับยาเพร็พ (PrEP) ที่มีความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และเป็นยาต้านก่อนเสี่ยงที่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ยาเพร็พ (PrEP) ยาต้านก่อนเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี

ยาเพร็พ (PrEP) คืออไร?

PrEP ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis เป็นยาที่กินเพื่อการป้องกันก่อนการติดเชื้อเอชไอวี โดยการกินยาวันละหนึ่งเม็ดทุกวัน ยาเพร็พไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ หากเป็นครั้งแรกผู้รับยา ต้องทำการตรวจเลือด ค่าการทำงานของไต ก่อนรับยาเพร็พ โดยแพทย์จะจ่ายยาให้ไปใช้สำหรับ 1 เดือนก่อน และจะนัดมาตรวจเลือดอีกครั้ง


เพราะการกินยาเพร็พ และสวมถุงยางอนามัยร่วมด้วย ถือเป็นการ double protection ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ด้วย และยาเพร็พ สามารถกินได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ทำให้เกิดอันตราย และผลข้างเคียงในระยะยาว แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยผู้ที่กินยาเพร็พ อย่างต่อเนื่องควรมีการนัดตรวจติดตามผลเลือด กับแพทย์ทุกๆ 3 เดือน


ยาเพร็พ ป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ดีแค่ไหน

ยาเพร็พ ที่มีใช้ในไทย โดยในหนึ่งเม็ดประกอบด้วยยา 2 ตัว คือ Tenofovir (TDF) 300 มิลลิกรัม และ Emtricitabine (FTC) 200 มิลลิกรัม ซึ่งยาเพร็พ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ได้สูงถึง 99% เมื่อทานยาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ใช้เข็มฉีดยาเสพติดได้ประมาณ 74%


ผลข้างเคียงของยาเพร็พ

ยาเพร็พ เป็นยาที่ปลอดภัยมาก ผลข้างเคียงน้อย และประสิทธิภาพดี แต่ยังต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ เนื่องจากหากใช้ยาไม่ถูกต้อง และไม่ได้ตรวจเลือด อาจมีการดื้อยา และพบผลข้างเคียงที่อันตรายได้ มีดังนี้

  • อาการคลื่นไส้

  • ถ่ายเหลว

  • ปวดศีรษะ

  • อ่อนเพลีย

  • กระดูกบางลง หรือค่าไตขึ้น พบได้น้อยมากเพียง 0.5-1% และกลับมาเป็นปกติได้หลังหยุดยา

อาการข้างเคียงต่างๆ มักจะเป็นเพียงช่วงแรกของการกินยา และอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง และส่วนใหญ่จะดีขึ้น หรือหายไปหลังเดือนแรกของการกินยาเพร็พ ถ้าอาการยังคงอยู่ห รือรุนแรงอยู่ ให้แจ้งแพทย์ที่ดูแลเราทันที

รูปภาพเกี่ยวกับใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ ซึ่งเป็นประการที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
ใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ

ใครบ้างที่ควรได้รับยาเพร็พ?

ยาเพร็พ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีสูง ดังนี้

  • ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคคลข้ามเพศ

  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน

  • ชาย หรือหญิงที่ทำงานบริการทางเพศ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะไม่ใช้ถุงยางอนามัยมากกว่า

  • ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดที่กำลังฉีดอยู่ หรือฉีดครั้งสุดท้ายภายใน 3 เดือน

  • ผู้ที่มาขอทานยาเป็ป (ยาต้านฉุกเฉิน) บ่อย โดยไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงได้

  • มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือไม่ทราบว่าคู่ติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ และมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเสี่ยงนี้อีกใน 3 เดือนข้างหน้า

  • ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 6 เดือนที่ผ่านมา

  • หากไม่มีความเสี่ยงข้างต้นแต่อยากกินยาเพร็พ สามารถทำได้ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มกินยาเพร็พ

ก่อนเริ่มกินยาเพร็พ ต้องทำอย่างไร?

ก่อนที่ผู้รับบริการจะรับยาเพร็พ ต้องทำการปรึกษาแพทย์ก่อน โดย

  • แพทย์จะซักเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และประวัติ โรคประจำตัว และข้อมูลอื่นๆ เพื่อพิจารณาว่าจำเป็นต้องรับยาเพร็พ หรือไม่

  • แพทย์จะสั่งตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเอชไอวี ก่อนเริ่มยาทุกราย

  • ตรวจค่าไต ก่อนเริ่มยาในบางราย

  • ตรวจการตั้งครรภ์ในรายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้

  • ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ซิฟิลิส และหนองใน ร่วมด้วยเพื่อการรักษา

  • งดมีกิจกรรมเสี่ยงมาไม่น้อยกว่า 21 วัน ก่อนกินยาเพร็พ

  • การรับยาในครั้งแรกแพทย์จะให้รับยา 1 เดือนก่อน ส่วนครั้งต่อไปจะได้รับไม่เกิน 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับการพิจจารณาของแพทย์เป็นกรณีไป

  • การรับยาครั้งต่อไปสำหรับผู้กินยาประจำต่อเนื่องทางเราต้องทำการตรวจเอชไอวีทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของผู้รับยา

ภาพการกินยาเพร็พที่ต้องทำตามขั้นตอนและคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด
การกินยาเพร็พ ต้องทำอย่างไรบ้าง

การกินยาเพร็พ ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ยาเพร็พสามารถกินได้ 2 วิธี คือ การกินยาเพร็พแบบทุกวัน และ การกินยาเพร็พเฉพาะช่วง โดยจะแนะนำให้กินยาเพร็พแบบทุกวัน มากกว่าเนื่องจากทำได้ง่ายกว่า


ยาเพร็พ แบบกินทุกวัน (Daily PrEP)

  • ทุกเพศสามารถทานได้ ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และทรานเจนเดอร์

  • เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ล่วงหน้าได้ เช่น ผู้ที่ให้บริการทางเพศ

  • เมื่อเริ่มยาเพร็พ ขณะมีเพศสัมพันธ์ด้วยถุงยางอนามัยใน 7 วันแรก ร่วมด้วยเพราะระดับยาจะสามารถป้องกันโรคได้ดีที่สุดเมื่อทานไปแล้ว 7 วัน หรือจะมีประสิทธิภาพสูงสุดหลังจากเริ่มกินยาเพร็พไปแล้ว 7 วัน ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ถึง 99.9%

  • กินยาวันละ 1 เม็ด เวลาเดิมทุกวัน หรือ ทุกวันในช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ยาเพร็พ แบบเฉพาะช่วง หรือแบบกินเฉพาะเวลาที่จะมีเพศสัมพันธ์ (On-Demand PrEP)

  • สามารถใช้ได้เฉพาะเพศชาย เพราะยังไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องประสิทธิภาพในผู้ใช้กลุ่มอื่น

  • ไม่ต้องกินทุกวันเหมือน Daily PrEP

  • กินแบบ 2-1-1 คือ กินยาเพร็พ 2 เม็ด ก่อนมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 ชั่วโมง และหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์เสร็จเรียบร้อย ให้กินยาพร็พต่ออีก 2 วัน วันละ 1 เม็ดที่เวลาเดิม หรือกินต่อเนื่องวันละ 1 เม็ดจนถึง 2 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย

  • ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 97-99%

ระหว่างกินยาเพร็พต้องทำอย่างไรบ้าง

  • แพทย์จะมีการนัดตรวจติดตามในระหว่างกินยาเพร็พ ทุก 1-3 เดือน เพื่อตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสเอชไอวี ให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี และอาจมีติดตามค่าไต ทุก 3-6 เดือนในบางราย รวมถึงติดตามอาการข้างเคียงที่เกิดได้จากการกินยาเพร็พ

หากลืมทานยา PrEP ต้องทำยังไง

  • หากลืมกินยาเพร็พ แล้วนึกออกว่าลืมกินยา ก็ให้กินยาทันที ส่วนเม็ดต่อไปให้กินเวลาเดิมที่เคยกิน ในกรณีลืมกินยาเพร็พ จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อเอชไอวีลดลง แต่ถ้าหากลืมกินเกิน 48 ชั่วโมง ก็ให้เริ่มนับหนึ่งใหม่

ต้องกินยาเพร็พนานแค่ไหน หยุดยาได้เมื่อไร

  • สามารถหยุดยา ได้เมื่อไม่มีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเสี่ยงแล้ว หรือกินต่อเนื่องไปจนกว่าจะหมดความเสี่ยง อย่างเช่น ในกลุ่มของผู้ให้บริการทางเพศ แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาไปจนกว่าจะเลิกทำอาชีพ ดังกล่าวแม้ว่าจะหมดความเสี่ยงก็ไม่ควรหยุดการใช้ยาในทันที แต่ควรกินต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 4 สัปดาห์ และเข้ารับการตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชไอวีอีกครั้ง หากไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี ก็จะสามารถหยุดการใช้ยาเพร็พได้

  • สามารถหยุดยา เมื่อมีผลข้างเคียงมาก และไม่ต้องการทานยาต่อ โดยแนะนำกินยาเพร็พจนถึง 7 วัน หลังความเสี่ยงครั้งสุดท้ายจึงหยุด

  • สามารถกลับมาปรึกษาเพื่อกินยาเพร็พใหม่ได้หากเริ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงอีก และก่อนหยุดกินทุกครั้งต้องตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชไอวี เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อเอชไอ

รูปภาพที่แสดงถึงทางเลือกที่ดีในการรับยา PrEP เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
รับยา PrEP ได้ที่ไหนดี

รับยาเพร็พ ได้ที่ไหนดี

ยาเพร็พไม่สามารถหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไปได้ ต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น ซึ่งก่อนกินยาจะต้องได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ก่อน เพื่อให้แพทย์วินิจฉัย และรับคำแนะนำในการกินยา เนื่องจากเป็นยาที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยได้

​รับเพร็พ ในกทม.

​คลินิกนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลทั้งรัฐ หรือเอกชน และคลินิกเฉพาะทาง

​รับเพร็พ ในต่างจังหวัด

​โรงพยาบาลทั้งรัฐ หรือเอกชน และคลินิกเฉพาะทาง

​รับเพร็พ ในจังหวัดอื่นๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต

​โรงพยาบาลทั้งรัฐ หรือเอกชน และคลินิกเฉพาะทาง

ค่าใช้จ่ายในการรับยา PrEP (เพร็พ) มีอะไรบ้าง

  • PrEP First Lab Test 2,000 บาท (เป็นการตรวจประเมินครั้งแรกก่อนรับยา)

  • PrEP (30 Tablets) 1,000 – 3,200 บาท


ยาต้านไวรัสเอชไอวีมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ยาเพร็พ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกัน และควบคุมสถานการณ์ก่อนเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี อย่างมีประสิทธิภาพ. การปรึกษาแพทย์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูล และคำแนะนำที่เหมาะสมต่อความเสี่ยง และสุขภาพทั่วไปของแต่ละบุคคล.


Comments


bottom of page