top of page
Siri Writer

ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals: ARV)

Updated: Dec 27, 2023

ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาเอชไอวีให้หายขาดได้ แต่มีการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพมากซึ่งช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว และมีสุขภาพที่ดีได้  ด้วยการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และการรักษาเอชไอวีที่มีประสิทธิผล จะทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการป่วยที่พัฒนาจนกลายเป็นโรคเอดส และยังช่วยให้มีอายุขัยที่ใกล้เคียงคนปกติทั่วไป


โดยเชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นไวรัสชนิดรีโทรไวรัส (Retrovirus) โดยเป็นเชื้อไวรัสที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ (RNA) ที่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมจากอาร์เอ็นเอไปเป็นดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อให้สามารถอาศัยในโครโมโซม (Chromosome) ของเซลล์เจ้าบ้านที่มีสารพันธุกรรมเป็นดีเอ็นเอ (หมายถึงมนุษย์) ได้ เมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายลดต่ำลง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆได้ง่ายขึ้น และเป็นสาเหตุสำคัญของความเจ็บป่วยและการตายของผู้ป่วย

ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals: ARV) - คำบรรยายภาพรวมเกี่ยวกับยาที่ใช้ในการรักษาเชื้อเอชไอวี เป็นยาที่มีผลต่อไวรัสและช่วยควบคุมการแพร่เชื้อในร่างกาย
ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals: ARV)

ยาต้านรีโทรไวรัส คืออะไร?

ยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretroviral drugs : ARV) หรือที่เราเรียกว่า ยาต้านไวรัสเอชไอวี คือ ยาที่ใช้ในการรักษาเอชไอวี ทำหน้าที่ยับยั้ง หรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อเอชไอวี หรือเพื่อช่วยลดปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกาย เมื่อใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ยาต้านไวรัสเอชไอวี  มีประสิทธิภาพมากในการจำกัดผลกระทบของไวรัสเอชไอวี


การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี นี้ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับโรคได้ และ ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี พัฒนาเป็นโรคเอดส์ รวมถึงการทำให้ไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสเอชไอวีไปยังผู้อื่นได้ ซึ่งปัจจุบันยาต้านไวรัสเอชไอวี มีมากกว่า 40 ชนิดได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาเอชไอวี คนส่วนใหญ่ที่รักษาเชื้อเอชไอวีจะรับประทานยาเหล่านี้ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปในแต่ละวันไปตลอดชีวิต


เป้าหมายของการรักษาเอชไอวี ด้วยยาต้านรีโทรไวรัส

การรักษาด้วยยาต้านรีโทรไวรัส ถือเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่ง สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ดังนี้

  • ลดปริมาณเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดให้ได้มากที่สุดจนถึงระดับที่ไม่สามารถตรวจ วัดได้ และให้คงระดับนั้นไว้ให้ได้นานที่สุด  โดยจะทำให้เชื้อเอชไอวี มีจำนวนต่ำกว่า 200 หน่วยต่อมิลลิลิตรของเลือด

  • ลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวี

  • ทำให้ผู้ป่วยที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

  • ฟื้นฟู และรักษาสภาพการทำงานของระดับภูมิคุ้มกันฯ หรือทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีโอกาสสร้างเซลล์ CD4 ได้มากขึ้น ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ให้กลับคืนมาทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ

  • ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีไปยังผู้อื่นได้

ในคนส่วนใหญ่ที่ใช้ยาต้านรีโทรไวรัส จะทำให้เชื้อเอชไอวีอยู่ภายใต้การควบคุมภายใน 6 เดือน แต่ต้องใช้ยาต้านรีโทรไวรัส หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี ภายใต้การควบคุมของแพทย์อย่างเคร่งครัด

หลักการทำงานของยาต้านรีโทรไวรัส - คำบรรยายภาพรวมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของยาต้านรีโทรไวรัสที่ใช้ในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีในร่างกาย
หลักการทำงานของยาต้านรีโทรไวรัส

หลักการทำงานของยาต้านรีโทรไวรัส

โดยยาต้านรีโทรไวรัส หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี มีกลไกการทำงานหลัก ดังนี้


ยับยั้งการเกาะจับ และเข้าสู่เซลล์เป้าหมาย (Entry and Fusion Inhibitors) 

โดยกลไกของยาเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ยาจะยับยั้งการเชื่อมรวมระหว่างเปลือกหุ้มของไวรัสเอชไอวี กับผนังเซลล์ของเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ได้ ทำให้เชื้อเอชไอวีไม่สามารถเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ได้ เช่น ยา Enfavirtide


ยับยั้งกระบวนการรีเวิร์สทรานสคริปเทส (Reverse Transcriptase Inhibitors) 

ซึ่งแบ่งยาเป็น 2 กลุ่มคือ

  • Nucleoside/Nucleotide Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs, กลไกของยากลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ยาจะยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ชื่อ รีเวิร์สทรานสคริปเตส (Reverse Transcriptase enzyme: เอนไซม์ที่ช่วยสร้างดีเอ็นเอให้แก่ไวรัสเอชไอวีเพื่อให้สามารถเพิ่มจำนวนและอาศัยในดีเอ็นเอของมนุษย์ได้) ของเชื้อไวรัสเอชไอวี จึงส่งผลทำให้ การเชื่อมต่อดีเอ็นเอของไวรัสหยุดชะงัก เชื้อไวรัสจึงไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ในร่างกายมนุษย์ เช่น ยา Zidovudine, Didanosine, Stavudine, Lamivudine, Abacavir, Emtricitabine

  • Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs, กลไกของยากลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ยาจะยับยั้งการทํางานของเอนไซม์รีเวิร์สทรานสคริปเตส 2 Reverse Transcriptase enzyme ซึ่งเป็นกลไกเดียวกันกับยากลุ่ม NRTIs ดังข้อ 1 ) เช่น ยา Nevira pine, Efavirenz, Delavudine, Etravirine, Rilpivirine


ยับยั้งกระบวนการอินทีเกรชั่น (Integrase inhibitor, INSTs)

โดยกลไกของยากลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วยาจะทำรบกวนการทำงานของเอนไซม์อินทีเกรซของเชื้อไวรัสเอชไอวี ป้อง กันไม่ให้ proviral DNA ของเอชไอวีเข้าเชื่อมต่อกับสายดีเอ็นเอของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ของมนุษย์ ช่วยเพิ่มเติม function ย่อๆของยากลุ่มนี้) เช่น ยา Raltegravir


ยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส (Protease Inhibitors, PIs)

โดยกลไกของยากลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ยาจะทำการยับยั้งเอนไซม์โปรติเอสของเชื้อไวรัสเอชไอวี ทำให้การสร้างส่วนประกอบโปรตีนของไวรัสเอชไอวีไม่สมบูรณ์/Immature virion จึงทำให้ไม่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวีรอบใหม่ได้) เช่น ยา Sequinavir, Ritonavir, Indinavir, Nelfinavir, Fosampre navir, Lopinavir, Atazanavir, Tipranavir, Darunavir

ผลข้างเคียงของยาต้านรีโทรไวรัส - คำบรรยายภาพรวมเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาต้านรีโทรไวรัสในการรักษาเชื้อเอชไอวี, ซึ่งควรรับรู้และปฏิบัติตามคำแนะนำของทีมแพทย์
ผลข้างเคียงของยาต้านรีโทรไวรัส

ผลข้างเคียงของยาต้านรีโทรไวรัส

ต่อไปนี้คือผลข้างเคียงบางส่วนจากยาต้านรีโทรไวรัส และคำแนะนำวิธีรับมือกับยาต้านรีโทรไวรัส ดังนี้

ผลข้างเคียงของยาต้านรีโทรไวรัส

สาเหตุจากยาชนิดใดบ้าง?

วิธีการรับมือ

เบื่ออาหาร

ยาอะบาคาเวียร์ (Abacavir)

คุณควรจะรับประทานอาหารในปริมาณน้อยๆ หลายมื้อต่อวัน แทนที่จะรับประทานเป็นมื้อใหญ่ 3 มื้อ นอกจากนี้ยังแนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มเสริมสารอาหาร เพื่อให้แน่ว่าคุณได้รับวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน เช่น รับประทานสารกระตุ้นให้อยากรับประทานอาหาร ดื่มน้ำผลไม้แทนการดื่มน้ำเปล่า

การเปลี่ยนแปลงของการกระจายไขมันในร่างกาย (lipodystrophy)


การใช้ยากลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (NRTI) และ ยาในกลุ่มยาต้านไวรัส protease inhibitor

เป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนักในบริเวณที่มีไขมันสะสม เช่น หน้าท้อง ยิ่งไปกว่านั้นคุณยังควรฉีด polylactic acid (เช่น New Fill®, Sculptra®) บนใบหน้าของคุณ หากคุณสูญเสียไขมันบริเวณนี้ นอกจากนี้คุณยังสามารถดูดไขมันจากบริเวณที่มีไขมันสะสมออกไปได้ สอบถามคุณหมอเพื่อลองใช้ยาที่เรียกว่าเทซาโมเลลีน (tesamorelin) เช่น เอกริฟตา (Egrifta®) ซึ่งช่วยลดไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้องสำหรับผู้ที่ใช้ยารักษาเชื้อเอชไอวี

ท้องร่วง


ยาต้านไวรัสกลุ่ม protease inhibitors และยาอื่นๆ

คุณควรรับประทานอาหารมัน เลี่ยน เผ็ด และอาหารที่ทำจากนมให้น้อยลง แล้วรับประทานเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ (เช่น ผักดิบ ซีเรียลธัญพืช ถั่ว) นอกจากนี้คุณยังสามารถรับประทานยาแก้ท้องเสียที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น โลเพอราไมด์ (loperamide) อย่าง อิโมเดียม (Imodium®) หรือ ไดฟินอกซิเลตและอะโทรพีน (diphenoxylate) และ อโตรฟีน (atropine) อย่างเช่นโลโมทิล (Lomotil®)

เหนื่อยล้า

ยาหลายประเภท

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันจะช่วยให้พลังงานแก่คุณ และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ นอกจากนี้คุณยังควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเท่าที่คุณจะทำได้

คอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดสูง

ยาต้านไวรัสกลุ่ม protease inhibitors และยาอื่นๆ

คุณควรหยุดสูบบุหรี่ และออกกำลังกายให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังควรลดปริมาณของไขมันในอาหาร (ปรึกษากับนักโภชนาการถึงวิธีการปรับอาหารการกินอย่างปลอดภัย) ด้วยการรับประทานปลาและอาหารอื่นๆ ที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง แนะนำให้ตรวจเลือดกับคุณหมอเพื่อวัดระดับของคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์ และอาจรับประทานยาสแตติน (Statin) หรือยาลดไขมัน (lipid-lowering medicines) อื่นๆ หากจำเป็น

อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า และวิตกกังวล

ยาเอฟฟาไวเร็นซ์ (Efavirenz)


คุณควรเปลี่ยนจำนวนครั้งในการรับประทานยา หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และเข้ารับการบำบัดหรือใช้ยาต้านภาวะซึมเศร้า

คลื่นไส้ อาเจียน


ยาเกือบทุกชนิดทำให้เกิดผลข้างเคียงนี้

คุณควรรับประมาณอาหารในปริมาณน้อยหลายครั้งต่อวัน แทนการรับประทานเป็นมื้อใหญ่ 3 มื้อ และรับประทานอาหารรสจืด เช่น ข้าวเปล่าและแครกเกอร์ นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มันและเผ็ด และอย่าลืมรับประทานยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เพื่อควบคุมอาการคลื่นไส้

ผดผื่น

ยาเนวิราปีน (nevirapine) และยาอื่นๆ

สิ่งสำคัญคือการรักษาความชุ่มชื่นที่ผิวของคุณ และหลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน ใช้สบู่และผงซักฟอกที่อ่อนโยนและไม่ทำให้ระคายเคือง ควรสวมเสื้อผ้าที่ถ่ายเทอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย ปรึกษากับหมอว่าคุณสามารถใช้ยาต้านฮิสตามีนได้หรือไม่

นอนไม่หลับ

ยาเอฟฟาไวเร็นซ์ (Efavirenz) และยาอื่นๆ

คุณควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับให้เป็นเวลา และหลีกเลี่ยงการงีบหลับระหว่างวัน แนะนำให้คุณจัดห้องนอนให้สบายเหมาะแก่การนอนหลับ ผ่อนคลายให้เต็มที่ก่อนเวลานอน ด้วยการอาบน้ำอุ่นหรือทำกิจกรรมที่ทำให้สงบ และหลีกเลี่ยงการรับประทานคาเฟอีนหรือสารกระตุ้นใดๆ ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเวลานอน นอกจากนี้อาจจะปรึกษาเรื่องการใช้ยานอนหลับจากคุณหมอ หากยังคงมีปัญหาต่อไป

ผลข้างเคียงอื่นๆ

  • ปฏิกิริยาแพ้ยาอะบาคาเวียร์ (มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน และผลข้างเคียงอื่นๆ จากการใช้ยาอะบาคาเวียร์)

  • เลือดออก

  • สูญเสียกระดูก

  • โรคหัวใจ

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวาน

  • มีระดับของกรดแลกติกในเลือดสูง หรือภาวะเลือดเป็นกรด

  • ไต ตับ หรือตับอ่อน เกิดความเสียหาย

  • มีอาการชา ปวดแสบปวดร้อน หรือปวดที่มือหรือเท้า จากปัญหาที่ระบบประสาท

ข้อควรระวังการใช้ยาต้านรีโทรไวรัส - คำบรรยายภาพรวมเกี่ยวกับข้อควรระวังและคำแนะนำสำหรับการใช้ยาต้านรีโทรไวรัสในการรักษาเชื้อเอชไอวี, เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษา
ข้อควรระวังการใช้ยาต้านรีโทรไวรัส

ข้อควรระวังการใช้ยาต้านรีโทรไวรัส

  • พิจารณาอาการแพ้ยา/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง) ที่รุนแรงของผู้ป่วย หากผู้ ป่วยเคยมีประวัติการใช้ยาต้านรีโทรไวรัสมาก่อน โดยห้ามใช้กับผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ หรือแพ้ส่วนประ กอบของยานั้นๆ หรือระวังการใช้ยาในกลุ่มเดียวกับที่ผู้ป่วยแพ้

  • ปรึกษาแพทย์ผู้รักษาหากท่านกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร

  • หากท่านมีการทำงานของไตบกพร่อง, ตับบกพร่อง หรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ โปรดแจ้งแพทย์ที่ดูแลท่านเสมอ เพราะอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาต้านรีโทรไวรัสตามค่าการทำงานของไตและตับ หรืออาจต้องทำการรักษาโรคประจำตัวเดิมของท่านก่อนการเริ่มใช้ยาต้านรีโทรไวรัส

  • ยาต้านรีโทรไวรัสบางตัวมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาชนิดอื่นๆ ดังนั้นแจ้งแพทย์และเภสัชกรเสมอว่า ท่านมียาใดบ้างที่กำลังรับประทานอยู่ รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาสมุน ไพร

  • ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่าน หากท่านจำเป็นต้องหยุดยาต้านรีโทรไวรัสเช่น ผู้ป่วยที่มีอาการพิษจากยาที่รุนแรง หรือจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานยา เช่น ช่วงถือศีลอด, ต้องเข้ารับการผ่าตัด, เดินทางไปต่างประเทศที่มีเวลาไม่ตรงกับประเทศไทย หรือหยุดยาแล้วกำลังจะเริ่มใช้ยาใหม่อีกครั้ง

  • ไม่แบ่งยาให้ผู้อื่นใช้

  • ไม่ใช้ยาหมดอายุ

  • ไม่เก็บยาหมดอายุ


การดื้อยาต้านรีโทรไวรัส

สาเหตุของการดื้อยาต้านรีโทรไวรัส ในแต่ละกลุ่มยา มีดังนี้


การดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่ม Entry inhibitor

การดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่มนี้ คือ เชื้อเอชไอวีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนของตัวเชื่อม (ที่มีชื่อว่า Glycoprotein 41) ที่ช่วยให้เปลือกหุ้มของเชื้อเอชไอวีเชื่อมกับผนังเซลล์เม็ดเลือดขาวซีดี-4 เพื่อให้เชื้อเอชไอวีสามารถแทรกเข้าไปในผนังเซลล์เม็ดเลือดขาวซีดี-4 ได้ ดังนั้นเมื่อเกิดเชื้อเอชไอวีที่ดื้อยา ยาต้านไวรัสจึงไม่สามารถเข้าไปยับยั้งการเชื่อมรวมระหว่างเปลือกหุ้มของไวรัส กับผนังเซลล์ของเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี-4 ได้ ทำให้เชื้อเอชไอวีสามารถเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวซีดี-4 ได้


การดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่ม Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NRTIs)

การดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่มนี้ คือ การทำให้ยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่ม NRTIs หรือ Nucleoside/Nucleotide ที่สังเคราะห์ขึ้นไม่สามารถจับกับดีเอ็นเอของรีโทรไวรัสได้เช่น การดื้อยาลามิวูดีน


การดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่ม Non- Nucleoside Reverse Transcrip tase Inhibitor (NNRTIs)

การดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่มนี้ คือ การกลายพันธุ์ของไวรัสที่ทำให้ยาในกลุ่ม NNRTIs ไม่สามารถเข้ามาจับกับเอนไซม์ Reverse transcriptase ได้ ซึ่งการดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่มนี้เป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากยา กลุ่มนี้เป็นยาหลักในการสร้างสูตรยาต้านไวรัสและเป็นกลุ่มยาที่มีการดื้อยาชนิดที่รุนแรงเช่น การดื้อยาเนวิราปีน, เอฟฟาไวเรนซ์


การดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่ม Protease Inhibitor (PIs)

การดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่มนี้ คือ การกลายพันธุ์ของไวรัสที่ทำให้ยาในกลุ่ม PIs ไม่สามารถจับกับเอนไซม์ Protease/เอนไซม์เกี่ยวกับการทำงานของโปรตีนได้ ซึ่งการดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่มนี้เป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากยากลุ่มนี้เป็นยาหลักในการสร้างสูตรยาต้านรีโทรไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อที่ผ่านการรักษาที่ล้มเหลวและมีการดื้อยาต้านรีโทรไวรัสมาแล้ว


การดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่ม Integrase inhibitor (INSTs)

การดื้อยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่มนี้ คือ จะเกิดขึ้นเมื่อไวรัสเอชไอวีเกิดการกลายพันธุ์จนทำให้กรดอะมิโนบางตัวเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ยากลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าไปทำลายการเจริญเติบโตของไวรัสได้

วิธีการเก็บรักษายาต้านรีโทรไวรัส - คำบรรยายภาพรวมเกี่ยวกับวิธีที่ถูกต้องในการเก็บรักษาและเก็บรักษายาต้านรีโทรไวรัสเพื่อคงความปลอดภัยและความมีประสิทธิภาพของยาในระยะยาว
วิธีการเก็บรักษายาต้านรีโทรไวรัส

วิธีการเก็บรักษายาต้านรีโทรไวรัส

  • เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง ไม่เก็บยาในที่อุณหภูมิสูงเกินกว่า 30 องศาเซลเซียส 

  • ไม่เก็บยาในห้องที่ร้อนจัด หรือ มีความชื้นมาก เช่น ห้องที่ถูกแสงแดดส่องถึงทั้งวัน ในรถยนต์ ห้องครัว หรือห้องน้ำ

  • ควรเก็บยาในภาชนะบรรจุเดิม

  • เก็บยาให้พ้นมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง

  • เก็บยาให้พ้นจากแสงแดดหรือบริเวณที่มีแสงสว่างส่องถึงตัวยาตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อรักษาคุณภาพของยาให้มีประสิทธิภาพตลอดถึงวันสิ้นอายุของยา

  • หากยาเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพเช่น สี, ลักษณะเม็ดยา/สารละลายเปลี่ยนแปลงจากปกติ ควรทิ้งยาทันที

  • ควรศึกษาเอกสารกำกับยา/ ฉลากยา ทุกครั้งสำหรับวิธีการเก็บรักษายาแต่ละชนิด เนื่องจากยาบางชนิดอาจจำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น หรือมีวิธีการเก็บรักษาพิเศษจำเพาะ


ยาต้านรีโทรไวรัส หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี  เป็นกลุ่มยาที่มีความสำคัญในการรักษาเอชไอวี ยาเหล่านี้ทำงานโดยการยับยั้ง และช่วยควบคุมการลุกลามของเชื้อเอชไอวีในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อต้านเชื้อเอชไอวี


การใช้ยาต้านรีโทรไวรัสต้องมีความระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของยา และยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจในระยะยาว


Comments


bottom of page