top of page
Siri Writer

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

สำหรับสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหลากหลายบริการที่จำเป็น โดยมีทั้งรายการบริการสำหรับประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทอง และบริการที่ครอบคลุมประชาชนทุกสิทธิ

ภาพแสดงการประสานงานเพื่อการเข้าถึงสิทธิและบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

โดยบริการสำหรับประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทอง ประกอบด้วย

  • บริการยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา

  • บริการยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก

  • บริการยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีภายหลังสัมผัสโรค ในกรณีสัมผัสเชื้อเอชไอวีจากการทำงานการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี

  • บริการยาต้านไวรัสป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสที่ไม่ใช่จากการทำงานเฉพาะกรณีเป็นผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

  • บริการยารักษาภาวะไขมันในเลือดสูงจากการรับประทานยาต้านไวรัส

  • บริการการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉั ยหรือติดตามการรักษา เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 โดยรวมถึงวัสดุอุปกรณ์ ในการเจาะเลือด และค่าขนส่งเพื่อส่งตัวอย่างตรวจ


ส่วนสิทธิประโยชน์บริการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีฯ ที่ครอบคลุมประชาชนทุกสิทธิ ดังนี้

  • บริการให้คำปรึกษาและการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ

  • บริการยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (ยา PrEP)

  • บริการป้องกันการติดเชื้อหลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (ยา PEP)

  • บริการให้คำปรึกษาและการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ

  • บริการรักษาและให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มารับบริการติดตามการรักษาที่หน่วยบริการ

  • บริการถุงยางอนามัยสำหรับผู้ที่เข้ารับบริการ ให้คำปรึกษา และตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ และกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่มารับบริการติดตามการรักษาที่หน่วยบริการ 

  • บริการตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยันไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ รวมถึงผู้ที่ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดที่มารับบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ 


สิทธิประโยชน์  ผู้ป่วยโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ของระบบประกันสุขภาพ 3 กองทุน มีดังนี้

1. สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UCS)

2. สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC)

3. สิทธิประกันสังคม (SSS)

 

รายละเอียดระบบประกันสุขภาพแต่ละกองทุน ดังนี้

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UCS) - ภาพแสดงการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทย
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UCS)

1.  สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UCS)

สิทธิหลักประกันสุขภาพ, บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่รู้จักกันในนาม สิทธิ30 บาท หรือสิทธิบัตรทองช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายจากค่ารักษาพยาบาลโรคเรื้อรัง โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง

  • บริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (VCT) ให้ทุกสิทธิกับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  • มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560 และลงทะเบียนผู้ป่วย

  • จัดหาและกระจายยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา ผ่านเครือข่ายหน่วยบริการ ด้านยาและเวชภัณฑ์ (รพ.ราชวิถี) คือ

    • มีการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสูตรพื้นฐาน และสูตรดื้อยา

    • มีการดูแลรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง จากการกินยาต้านไวรัส

    • ได้รับยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก

  • บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

    • ตรวจหาจำนวน เม็ดเลือดขาว ชนิด CD4

    • ตรวจหา เชื้อดื้อต่อยาต้านไวรัส

    • ตรวจหาปริมาณเชื้อ HIV ในกระแสเลือด

    • ตรวจเลือดพื้นฐาน

    • มีการตรวจ Viral Load  ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง

    • ตรวจไวรัสเพื่อประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อของทารก  (32-36 สัปดาห์)

    • ตรวจคัดกรอง/ยืนยันไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มผู้ติดเชื้อ

    • ศูนย์องค์รวมนิเทศน์ ติดตามเยี่ยมบ้านตามสมัครใจ

    • บริการคัดกรอง "วัณโรค" ด้วย Chest X-Ray : CXR ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่

  • ด้านการกำกับติดตามการรักษา

    • บริการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม

    • ถุงยางอนามัย

สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC) - รูปภาพอธิบายเกี่ยวกับการใช้สิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการในระบบสุขภาพของประเทศไทย
สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC)

2.  สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (OFC)

  • ข้าราชการทุกหน่วยงานเบิกจ่ายตรงกับโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้

  • ครอบคลุมบริการตามระบบปกติ

  • การรักษาเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

  • ไม่มีระบบบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ 

  • ตามระยะเวลาของการเป็นข้าราชการ

  • ตรวจสอบสถานพยาบาลและประเมินค่าใช้จ่าย เว็บไซด์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th

 

สิทธิประกันสังคม (SSS) - ภาพแสดงการใช้สิทธิประกันสังคมในระบบสวัสดิการของประเทศไทย
สิทธิประกันสังคม (SSS)

3.  สิทธิประกันสังคม (SSS)  

  • สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนที่ติดเชื้อ HIV และผู้ที่เป็นโรคเอดส์ (AIDS) ทั้งในการตรวจและรับยาต้านไวรัส HIV เพียงเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลตามสิทธิเท่านั้น

  • มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ตามแนวทางการตรวจรักษา และป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560

  • ใช้ระบบสารสนเทศ (ระบบNAP) ร่วมกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการลงทะเบียนผู้ติดเชื้อ

  • สำนักงานประกันสังคม

  • จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาลตามสิทธิของผู้ประกันตน ได้แก่

    • ค่าตรวจ CD4 เหมาจ่ายครั้งละ 500 บาท ปีละไม่เกิน 1,000 บาท/คน

    • ค่าตรวจ Viral Load เหมาจ่ายครั้งละ 2,500 บาท ปีละไม่เกิน 5,000 บาท/คน

    • ค่าตรวจ Drug resistance ครั้งละ 8,500 บาท/คน/ปี

  • ดูแลค่ายาต้านไวรัส HIV ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิ ดังนี้

    • ให้ยาต้านไวรัส HIV ในผู้ติดเชื้อทุกรายในทุกระดับ CD4

    • การพิจารณาเริ่มยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อ HIV และการเลือกสูตรยาต้านไวรัส ให้เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยสถานพยาบาลสามารถเลือกใช้ยาต้านไวรัสได้ตามรายการที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

    • จัดหาและกระจายยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยาผ่านระบบ VMI ให้กับ รพ.ทุกแห่ง ในระบบประกันสังคม โดยผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาที่ รพ. ที่ตนเองขึ้นทะเบียนไว้  (รพ.ตามบัตรรับรองสิทธิ)

การขอเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยโรคเอดส์

คุณสมบัติผู้ที่จะขอรับความช่วยเหลือ (คนละ 500 บาท/เดือน)

  • ต้องเป็นผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่ปรากฏอาการ และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน

  • ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะดูแล ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้

  • มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขต อบต. จริง

  • ต้องอาศัยอยู่ในเขต อบต. จริง

  • ได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้บริหาร อบต.

  • มีฐานะยากจน โดยรายได้เฉลี่ยต่อคน ต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อปี

หลักฐานการรับความช่วยเหลือ

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

  • สำเนาทะเบียนบ้าน

  • ใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ปรากฏอาการ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  

1.สายด่วน สปสช. 1330 

2.ช่องทางออนไลน์

• ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6

• Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

• ไลน์ Traffy Fondue เป็นเพื่อนใน LINE ค้นหาไอดี @traffyfondue หรือคลิก https://lin.ee/nwxfnHw

Comments


bottom of page