top of page
Siri Writer

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีผลกระทบต่อทารกในขณะตั้งครรภ์

Updated: Jun 9, 2024

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ต่อบุคคลที่ติดเชื้อเอง แต่ยังรวมถึงทารกในครรภ์ที่อาจได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อเหล่านี้ด้วย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มีผลกระทบต่อทารกในขณะตั้งครรภ์อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกเกิดความผิดปกติทางร่างกาย การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิต


ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง การตรวจคัดกรองและการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ รวมถึงการรักษา และการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีสำหรับทั้งมารดา และทารก

ภาพแสดงการแพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีผลกระทบต่อทารกในขณะตั้งครรภ์ โดยมีภาพแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ แสดงถึงความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อเหล่านี้
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีผลกระทบต่อทารกในขณะตั้งครรภ์ 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีผลกระทบต่อทารกในขณะตั้งครรภ์ 

ซึ่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ จะมีความแตกต่างของโรค โดยขึ้นอยู่กับติดเชื้อโรคแต่ละชนิด ดังนี้


เชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ (HIV/AIDS)

  • เอชไอวี (HIV) เป็นไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

  • การติดเชื้อสามารถแพร่จากแม่สู่ทารกผ่านทางรก การคลอด หรือการให้นม

  • ผลกระทบต่อทารก ทารกที่ติดเชื้อเอชไอวี มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเอดส์ (AIDS) และการเสียชีวิตในวัยเด็ก

  • การรักษา สามารถป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสไปยังทารกในครรภ์ ด้วยการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี และทำการผ่าตัดคลอดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังทารก


โรคเริม (Herpes)

  • เริมที่อวัยวะเพศ เกิดจากไวรัส Herpes Simplex Virus (HSV)

  • ทารกอาจติดเชื้อในระหว่างการคลอดผ่านช่องคลอด หากแม่มีอาการที่ออกในขณะนั้น

  • ผลกระทบต่อทารก การติดเชื้อที่อาจรุนแรงทำให้เกิดการติดเชื้อในสมอง ตับ หรือปอด และความเสียหายต่อดวงตา

  • การรักษา แพทย์จะสั่งยาต้านไวรัสเพื่อรักษาโรคเริม และทำการผ่าตัดคลอดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังทารก


โรคซิฟิลิส (Syphilis)

  • ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย Treponema pallidum

  • สามารถแพร่เชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้อย่างง่าย

  • ผลกระทบต่อทารก ทารกอาจเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติทางกายภาพ, ภาวะตัวเล็ก, และปัญหาทางพัฒนาการต่าง ๆ  หรือทำให้เกิดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital syphilis) หากติดเชื้อโรคที่มีความรุนแรงอาจทำให้ทารกในครรภ์ อันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ 

  • การรักษา แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังทารกในครรภ์ และป้องกันไม่ให้เชื้อซิฟิลิสลุกลามมากขึ้น


โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomonas)

  • Trichomonas vaginalis เป็นโปรโตซัวที่เป็นสาเหตุของโรคพยาธิในช่องคลอด

  • การติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่จะไม่มีการถ่ายทอดเชื้อไปที่ทารก

  • ผลกระทบต่อทารก ทารกอาจมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด  และน้ำหนักตัวทารกต่ำ  

  • การรักษา  หญิงมีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตรต้องแจ้งแพทย์ และเภสัชกรก่อนรับยา Metronidazole หรือ Tinidazole เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง หรือทารกได้


โรคหนองใน (Gonorrhea)

  • หนองใน เกิดจากแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae

  • การติดเชื้อสามารถแพร่ไปยังทารกในระหว่างการคลอด

  • ผลกระทบต่อทารก มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด  การติดเชื้อที่ตา อาจทำให้ตาบอด หรือติดเชื้อที่ข้อต่อ หรือติดเชื้อเข้ากระแสเลือดจนเสียชีวิตได้

  • การรักษา สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ และทารกแรกเกิดทุกคน จะได้รับยาที่รักษาตาตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตาจากโรคหนองใน


โรคหนองในเทียม (Chlamydia)

  • หนองในเทียม เกิดจากแบคทีเรีย Chlamydia trachomatis

  • หากแม่ติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ และไม่ได้รับการรักษา สามารถแพร่เชื้อไปยังทารกในระหว่างการคลอด

  • ผลกระทบต่อทารก เกิดความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูก แท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด และทารกเกิดการติดเชื้อที่ตา ปอดบวม และปอดอักเสบได้ 

  • การรักษา สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ และทารกแรกเกิดทุกคน จะได้รับยาที่รักษาตาตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตาจากโรคหนองใน หรืองมีการทาครีมที่ดวงตาของทารกแรกเกิด เพื่อป้องกันเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อหนองในเทียมของแม่


โรคหูดหงอนไก่ (Genital warts)

  • หูดหงอนไก่ เกิดจากไวรัส Human Papillomavirus (HPV)

  • ทารกอาจติดเชื้อในระหว่างการคลอดหากแม่มีหูดที่ช่องคลอด

  • ผลกระทบต่อทารก การติดเชื้อที่หายากแต่สามารถทำให้เกิดหูดในลำคอ หรือทางเดินหายใจของทารก

  • การรักษา การรักษาต้องใช้ยาจี้หรือยาทาหูด เช่น ไตรคลอโรอเซติก (Trichloroacetic acid), Imiquimod, ตัดออก, จี้ด้วยไฟฟ้า หรือจี้ด้วยความเย็น ส่วนยาต้องห้าม เช่นโพโดฟิลลิน (Podophyllin), 5 เอฟยู(5-FU) เพราะมีพิษถึงทารกในครรภ์


โรคตับอักเสบบี (Hepatitis B)

  • ตับอักเสบบี เป็นการติดเชื้อไวรัสที่มีผลต่อการทำงานของตับ

  • ไวรัสสามารถแพร่เชื้อไปยังทารกผ่านทางรกได้ 

  • ผลกระทบต่อทารก ทำให้ทารกแรกเกิดติดเชื้อ และเป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งตับในอนาคต

  • การรักษา แพทย์จะฉีดแอนติบอดีให้กับทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสอักเสบบี

ภาพแสดงวิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การตรวจสุขภาพประจำ การปรึกษาแพทย์ และการรับวัคซีน เพื่อความปลอดภัยของมารดาและทารกในครรภ์
การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์

  • การตรวจสุขภาพก่อน และระหว่างการตั้งครรภ์

  • ผู้หญิงที่มีแผนจะตั้งครรภ์ควรตรวจสุขภาพทางเพศสัมพันธ์อย่างละเอียด

  • การตรวจสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์จะช่วยระบุ และรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจมี

  • การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทันที

  • หากพบว่ามีการติดเชื้อ การรักษาทันทีสามารถลดความเสี่ยงต่อทารกได้อย่างมาก

  • ยาและการรักษาที่เหมาะสมจะช่วยลดการแพร่เชื้อจากแม่สู่ทารก

  • การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • การใช้ถุงยางอนามัย และการมีคู่ครองที่เชื่อถือได้เป็นวิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ

  • การให้วัคซีน เช่น วัคซีน HPV (Human Papillomavirus) จะช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวข้อง


การตระหนักถึงความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันโรคเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ การรักษาอย่างเหมาะสม และการป้องกันอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดความเสี่ย งและเพิ่มโอกาสให้ทารกเกิดมาอย่างมีสุขภาพดี

Comentarios


bottom of page