top of page
Siri Writer

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์

Updated: Jan 22, 2024

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในผู้หญิง บางโรคไม่มีอาการแสดงอะไรที่บ่งบอกว่าเราเป็นโรค ซึ่งอาจจะได้รับเชื้อตั้งแต่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือรับเชื้อขณะตั้งครรภ์ก็ได้ โดยโรคที่มีอาการแสดงออกมามักจะได้รับการรักษา แต่โรคที่ไม่มีแสดงอาการอาจจะไม่รับการรักษา ทำให้มีปัญหาต่อการตั้งครรภ์ หรือส่งผลต่อทารกในครรภ์ เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถส่งผลต่อทารกขณะอยู่ในครรภ์ หรือขณะทารกกำลังคลอดได้ 


การตรวจเช็คโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และรับการรักษาที่ถูกต้องก่อนที่จะตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ได้ทำอันตรายเฉพาะต่อหญิงตั้งครรภ์ แต่รวมถึงทารกในครรภ์ด้วย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคไตรโคโมแนส โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคหูดที่อวัยวะเพศ โรคซิฟิลิส  และเชื้อเอชไอวี เชื้อโรคเหล่านี้บางชนิดสามารถแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกได้ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร


หากติดเชื้อในระยะแรกอาจไม่สังเกตว่ามีอาการผิดปกติใดๆ จึงทำให้ไม่ทราบว่าตนเองกำลังติดเชื้ออยู่ จึงส่งผลทำให้ทารกในครรภ์ มีอาการต่าง ๆ เช่น คลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตขณะคลอด หรือหลังจากคลอดได้ไม่นาน ทารกที่รอดชีวิตมาได้ก็อาจมีปัญหาระบบอวัยวะหลายอย่าง น้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ ติดเชื้อในตา หรือในปอด ฉะนั้นผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือขณะตั้งครรภ์ไตรมาสแรก จึงควรได้รับการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และรับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งต่อตนเองและทารก 

ภาพโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์ การป้องกันและรักษาโรคเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสุขภาพแม่และทารก
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถแพร่เชื้อสู่ทารกในครรภ์ได้อย่างไร?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดสามารถถ่ายทอดจากหญิงตั้งครรภ์สู่ทารกได้ทั้งก่อน และระหว่างการคลอดบุตร ดังนี้

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด เช่น โรคซิฟิลิสผ่านรก ทำให้ทารกติดเชื้อในครรภ์

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคเริมที่อวัยวะเพศ สามารถแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกได้ในขณะที่ทารกผ่านช่องคลอด

  • เชื้อเอชไอวีสามารถผ่านรกระหว่างตั้งครรภ์ หรือติดเชื้อระหว่างการคลอดบุตร


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่งผลต่อลูกน้อยของฉันได้อย่างไร?

แม่ที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ ทำให้ทารกได้รับผลกระทบ ดังนี้

  • การคลอดก่อนกำหนด (การคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์) ซึ่งการคลอดก่อนกำหนด เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตของทารก และอาจนำไปสู่ปัญหาพัฒนาการ และสุขภาพในระยะยาวในเด็ก 

  • น้ำหนักแรกเกิดต่ำ (น้อยกว่า 5 ปอนด์)

  • การติดเชื้อในเลือดของทารก

  • การติดเชื้อที่ตา

  • ตาบอด

  • โรคปอดอักเสบ

  • สมองเสียหาย

  • ขาดการประสานงานในการเคลื่อนไหวของร่างกาย

  • อาการหูหนวก

  • โรคตับอักเสบเฉียบพลัน 

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  • โรคตับเรื้อรังซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเป็นในตับ ( โรคตับแข็ง )

ภาพโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย การมีความรู้และการป้องกันเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรักษาและดูแลสุขภาพทั้งแม่และทารก
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มักเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจมีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อตัวแม่ และทารกในครรภ์ โดยขึ้นอยู่กับติดเชื้อโรคแต่ละชนิด ดังนี้

  • เชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ (HIV/AIDS) สามารถส่งผ่านให้สู่ตัวอ่อนในครรภ์ หรือผ่านการให้นมเมื่อเด็กเกิดมาแล้ว อย่างไรก็ดี แม่มีเชื้อ ไม่จำเป็นว่าลูกจะต้องติดเชื้อเสมอไป ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจมีลูก หรือรีบไปฝากครรภ์ เพื่อรับการดูแลและป้องกันการส่งผ่านเชื้อสู่ลูก

  • โรคเริม (Herpes ) ส่วนใหญ่อาการไม่ร้ายแรง แต่เชื้อไวรัสจะอยู่ในร่างกายของคนที่เคยติดเชื้อไปตลอด แม้จะไม่ส่งผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ แต่บางกรณี มีการส่งผ่านเชื้อไปยังทารกที่เกิดมา หากเป็นเริมที่อวัยวะเพศระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้เชื้อผ่านไปยังทารก ทำให้ทารกที่สัมผัสกับโรคเริมที่อวัยวะเพศอาจได้รับความเสียหายต่อดวงตา และระบบประสาทส่วนกลาง การติดเชื้อเริมในทารกแรกเกิดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น ผู้หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากที่มีเป็นโรคเริมจะต้องผ่า C-section เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเริมไปยังทารกแรกเกิด

  • โรคซิฟิลิส(Syphilis) สามารถส่แพร่เชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้อย่างง่ายมาก และมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อโรคที่มีความรุนแรงต่อทารกในครรภ์ซึ่งอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ และหากทารกคลอดก่อนกำหนด หรือไม่ได้รับการรักษา และรอดชีวิตมา มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาในอวัยวะต่างๆ เช่นสมอง ตา หู หัวใจ ผิวหนัง ฟัน และกระดูก

  • โรคพยาธิในช่องคลอด (trichomonas) หากเป็นโรคนี้ในระหว่างการตั้งครรภ์ โรคพยาธิในช่องคลอดที่มีอาการรุนแรง อาจกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้  แต่จะไม่มีการถ่ายทอดเชื้อไปที่ทารก

  • โรคหนองในแท้ และโรคหนองในเทียม (Gonorrhea/genital wart, condyloma acuminata) โดยปัญหาของทั้งสองโรค คือส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ หรือบางคนเป็นแล้วหาซื้อยากินเอง หรือกินยาไม่ครบโดส อาการหายไป แต่เชื้อยังอยู่ ซ้ำยังดื้อยา ในระยะยาว

    • โรคหนองใน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยมาก สามารถส่งเชื้อไปสู่ทารกในระหว่างคลอด หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการแท้งบุตร หรือการคลอดก่อนกำหนด และทารกที่เกิดในขณะที่แม่มีการติดเชื้ออาจทำให้ตาบอด หรือติดเชื้อที่ข้อต่อ หรือติดเชื้อเข้ากระแสเลือดจนเสียชีวิตได้

    • โรคหนองในเทียม อาจทำให้เกิดโรคอักเสบในโพรงมดลูก และอาจเกิดฝีที่ท่อนำไข่ อาจทำให้เป็นหมัน ทั้งยังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูก แท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด และทารกเกิดการติดเชื้อที่ตา ปอดบวม และปอดอักเสบได้

  • โรคหูดหงอนไก่ (Genital warts) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง หากเป็นหูดที่อวัยวะเพศในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้การรักษาอาจล่าช้าออกไปจนกว่าจะคลอดลูก บางครั้งฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์อาจทำให้ฮอร์โมนมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ หากหูดมีขนาดใหญ่พอที่จะปิดกั้นช่องคลอด และอาจทำให้เสียเลือดปริมาณมากขณะคลอด จึงต้องคลอดด้วยการผ่าตัดคลอดลูก

  • โรคตับอักเสบบี (Hepatitis B) หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถแพร่เชื้อไปยังทารกผ่านทางรกได้ ทำให้ทารกแรกเกิดติดเชื้อและเป็นพาหะของโรค โดยมีไวรัสตับอักเสบบีไปได้ตลอดชีวิต นำไปสู่ โรค ตับ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันมียาที่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ทารก


การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระหว่างตั้งครรภ์

การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระหว่างตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อมโรคชนิดไหน ซึ่งจะมีวิธีการรักษาสำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงมีครรภ์และทารกแรกเกิด ดังนี้

  • เชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์  สามารถลดไวรัสเอชไอวีให้อยู่ในระดับต่ำได้ และสามารถป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสไปยังทารกในครรภ์ ด้วยการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี 

  • โรคเริม แพทย์จะสั่งยาต้านไวรัสเพื่อรักษารอยโรคเหล่านี้ และสำหรับผู้หญิงที่มีรอยโรคเริมขณะคลอด มักจะทำการผ่าตัดคลอดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังทารก

  • โรคซิฟิลิส แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังทารกในครรภ์ และป้องกันไม่ให้เชื้อซิฟิลิสลุกลามมากขึ้น

  • โรคพยาธิในช่องคลอด หญิงตั้งครรภ์สามารถรักษาด้วยยาเพื่อรักษาการติดเชื้อได้ และควรให้คู่นอนได้รับการรักษาไปพร้อมๆ กันเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ และการแพร่กระจายของโรคต่อไป

  • โรคหนองในแท้ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ เนื่องจากโรคหนองในมักไม่มีอาการ ทารกแรกเกิดทุกคนจึงได้รับยาที่รักษาตาตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตาจากโรคหนองในแท้ 

  • หนองในเทียม หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโรคหนองในเทียม สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ เนื่องจากโรคหนองในมักไม่มีอาการ ทารกแรกเกิดทุกคนจึงได้รับยาที่รักษาตาตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา แต่ไม่สามารถป้องกันโรคปอดบวมที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้ ในระหว่างตั้งครรภ์คุณไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะด็อกซีไซคลินเพราะจะทำให้ฟัน ของทารกเปลี่ยนสี ได้ และต้องมีการทาครีมที่ดวงตาของทารกแรกเกิดเป็นประจำเพื่อป้องกันเยื่อบุตาอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อหนองในเทียมของแม่ ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้หากไม่ได้รับการรักษา

  • โรคหูดหงอนไก่ หากคุณติดเชื้อหูดที่อวัยวะเพศในระหว่างตั้งครรภ์ การรักษาอาจล่าช้าออกไปจนกว่าคุณจะคลอด แม้ว่าไวรัสจะไม่ออกจาก ร่างกายแต่หูดสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดหรือการใช้ยา หูดขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องรักษา ในขณะที่หูดที่ใหญ่กว่าและน่ารำคาญกว่าอาจรักษาได้ด้วยสารเคมีที่เป็นกรด หรือตัดทิ้ง

  • โรคตับอักเสบบี หากคุณมีโรคตับอักเสบบี แพทย์จะฉีดแอนติบอดีให้กับทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสอักเสบบี

ภาพเกี่ยวกับการให้นมบุตรจากแม่ที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตัดสินใจในการให้นมนั้นต้องพิจารณาตามคำแนะนำของแพทย์
แม่ที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถให้นมบุตรได้หรือไม่

แม่ที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถให้นมบุตรได้หรือไม่?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดส่งผลต่อการให้นมบุตร และบางชนิดก็ไม่ส่งผล ควรปรึกษาแพทย์ หรือที่ปรึกษาด้านการให้นม เกี่ยวกับความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้กับทารกขณะให้นมบุตร มีดังนี้

  • หากมีเชื้อเอชไอวี อย่าให้นมบุตร เพราะสามารถแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวีไปยังทารกได้ แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่แทน

  • หากเป็นโรคหนองในเทียม หรือโรคหนองใน หรือ มีเชื้อเอชพีวี (HPV) สามารถให้นมบุตรได้

  • หากมีเชื้อ Trichomoniasis  สามารถรับประทานยาปฏิชีวนะเมโทรนิดาโซลได้ แต่หากจะให้นมบุตร ต้องรอเวลา 12 ถึง 24 ชั่วโมง หลังจากรับประทานยาเพื่อให้นมบุตร

  • หากมีเชื้อโรคซิฟิลิส หรือโรคเริม  สามารถให้นมบุตรได้ตราบใดที่ทารก หรืออุปกรณ์ปั๊มนมไม่สัมผัสกับแผลที่ติดเชื้อ  ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่จะมีการเชื้อซิฟิลิส หรือเริมไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านม รวมถึงหัวนม และลานหัวนมด้วย ถ้าหากมีแผลที่เต้านม ให้ปั๊ม หรือบีบน้ำนมด้วยมือจนกว่าแผลจะหาย การปั๊มจะช่วยรักษาปริมาณน้ำนม และป้องกันไม่ให้เต้านมอิ่ม และเจ็บปวดมากเกินไป หรือสามารถเก็บนมเพื่อป้อนให้ทารกไว้ในขวด เพื่อป้อนนมครั้งต่อไปได้ แต่หากส่วนใดส่วนหนึ่ง ของเครื่องปั๊มนมสัมผัสกับแผลติดเชื้อขณะปั๊มน้ำนม ควรทิ้งน้ำนมนั้นไปเลย


สามารถรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ขณะให้นมบุตรได้หรือไม่?

หากแม่ที่ติดเชื้อกำลังรับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลที่เป็นไปได้ของยาที่รักษาโรคว่ามีผลกระทบต่อทารกที่ต้องกินนมแม่หรือ โดยการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่สามารถทำการรักษา และพร้อมให้นมบุตรได้อย่างปลอดภัย


การป้องกันการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์

สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในผู้หญิงตั้งครรภ์ ได้ด้วยการดูแลก่อนคลอดเป็นประจำ แพทย์จะมีการทดสอบเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ และอีกครั้งในช่วงใกล้คลอดบุตร หากจำเป็นดังนี้

  • งดการมีเพศสัมพันธ์ หากไม่แน่ใจว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการติดต่อ และแพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • เมื่ออายุเกิน 25 ปี และผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจหาเชื้อโรคหนองใน โรคหนองในเทียม และการติด เอชไอวี/โรคเอดส์

  • ก่อนมีเซ็กส์ ต้องแน่ใจว่าคู่ของเราปลอดภัยจากเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วิธีดีที่สุด คือพากันไปตรวจเช็คสุขภาพทั้งสองคนเพื่อความมั่นใจซึ่งกันและกัน

  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) และโรคตับอักเสบ

  • รับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ลดเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อให้ผู้อื่น หรือทารกในครรภ์ เพราะการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตั้งแต่เนิ่นๆ ของการตั้งครรภ์ สามารถลดการแพร่เชื้อโรค และรักษาได้ทันท่วงที ป้องกันความรุนแรงของเชื้อโรค 

  • อย่าดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติดก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพราะอาจจะมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และยังเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วย

  • ควรมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยิ่งมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากเท่าไร ก็จะป้องกันตัวเองได้ดีขึ้นเท่านั้น

ภาพการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองเป็นการป้องกันและระบุโรคในช่วงการตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของแม่และทารก
การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์

การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์ทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี ในครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ และ ต้องตรวจอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3 (ก่อนอายุครรภ์ 36 สัปดาห์)

  • หญิงตั้งครรภ์ทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส ในครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ และในรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อซิฟิลิส หรือต้องตรวจอีกครั้งในช่วงต้นไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์) และตรวจอีกครั้งขณะคลอดบุตร

  • หญิงตั้งครรภ์ทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) ในครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ แม้ว่าจะได้รับวัคซีนมาแล้ว ถ้าหากไม่ได้ตรวจแล้วมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือมีอาการตับอักเสบ ให้ทำการตรวจขณะที่มาคลอดบุตรด้วย และหากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถฉีดวัคซีนได้

  • หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 25 ปี และสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคหนองใน และโรคหนองในเทียม เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก และตรวจอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ และหากได้รับการรักษา ควรทำการตรวจซ้ำอีกครั้งหลังรักษา 3 เดือน

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ควรได้รับการตรวจคัดกรอง แต่ยังไม่มีแนวทางการรักษาในหญิงตั้งครรภ์ และยังไม่สามารถป้องกันการแพร่สู่ทารกได้

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ควรได้รับการทำ Pap Smear หรือ Pap Test เช่นเดียวกับผู้หญิงปกติ


การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ในหญิงตั้งครรภ์เป็นส่วนสำคัญของการดูแลสุขภาพทั้งแม่ และทารกที่กำลังเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งการตรวจคัดกรองโรคช่วยทำให้ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรค การแพร่เชื้อ หรือการถ่ายทอดจากแม่สู่ทารกระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดลูก  รวมถึงการช่วยให้แม่ และทารกได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทั้งแม่ และทารกในระหว่างช่วงตั้งครรภ์ และหลังคลอดได้


Comments


bottom of page