เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเพื่อต่อสู้กับการเชื้อไวรัสเอชไอวี ดังนั้นการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี จะใช้หลักการตรวจหาภูมิคุ้มกันนี้ในเลือด โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหลังการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี จึงจะตรวจพบระดับภูมิคุ้มกันนี้ได้
ซึ่งจะเรียกช่วงระยะเวลา 3 เดือนนี้ว่า ระยะฟักตัว (Window period) ซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่มีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้ว แต่ยังตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวีไม่พบ ดังนั้นหากเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี ในช่วงระยะฟักตัวจะได้ผลเป็นลบ ทั้งที่จริงๆ แล้วคุณอาจติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้วก็ได้ จึงทำให้ผลตรวจที่ออกมาในระยะนี้ จะทำให้ผู้รับการตรวจเข้าใจผิดคิดว่า ตนเองไม่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจความหมายของระยะฟักตัวให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ถูกต้อง และได้รับผลตรวจที่แม่นยำด้วย
ระยะฟักตัว (Window period) คืออะไร?
ระยะฟักตัว (Window period) คือ ช่วงเวลาที่อาจได้รับการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้ว แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Antibody) ยังไม่ขึ้นถึงระดับที่จะสามารถตรวจพบเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ ดังนั้นการเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี ในช่วงระยะฟักตัวนี้ จะได้ผลตรวจออกมา คือ ตรวจไม่พบ หรือ ผลเป็นลบ ซึ่งความจริงแล้ว คุณอาจติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้วก็ได้ ทำให้ผลที่ออกมานี้จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าไม่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งระยะที่ภูมิคุ้มกันของเราจะมีปฏิกิริยาต่อเชื้อไวรัสเอชไอวีประมาณ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป เราจึงจำเป็นต้องรอระยะเวลาก่อน และถ้าหากมีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ควรต้องมาตรวจซ้ำอีกครั้งหลัง 3 เดือนจากการตรวจครั้งแรก
ทั้งนี้ ระยะฟักตัวของการตรวจหาเชื้อเอชไอวี แต่ละวิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีก็ไม่เท่ากัน มีความแตกต่างกันออกไปด้วย เพราะฉะนั้นการตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยไม่ได้คำนึงถึงระยะฟักตัว จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่แม่นยำ ทำให้เราจำเป็นต้องรอ ระยะเวลาของระยะฟักตัว เพื่อให้เลือดมีจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวีเพียงพอ ในแอนติบอดี จึงสามารถตรวจพบเชื้อได้นั่นเอง ซึ่งระยะฟักตัวของแต่ละคนอาจมีระยะเวลาการตรวจพบเชื้อไวรัสได้ช้า หรือเร็ว ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในแต่ละคน
ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีขึ้นมามากมายเพื่อจำกัดระยะฟักตัวให้น้อยลง สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสได้เร็วขึ้น และมีความแม่นยำมากขึ้นด้วย หากผลตรวจออกมาแล้ว ได้ผลเป็นลบ ก็ไม่สามารถบอกได้ทันที ว่าไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี ฉะนั้นทางที่ดีควรทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวี หลังเสี่ยง 3 เดือน เพื่อความมั่นใจ
ช่วงระยะฟักตัว (Window period) กี่วัน ถึงจะเชื่อถือได้
สิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้ว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมาวันไหน เพราะบางคนลืม หรือจำไม่ได้เลยว่ามีความเสี่ยงมาเมื่อไหร่ อาจทำให้การตรวจหาเชื้อเอชไอวี ได้ผลที่ไม่มีความแม่นยำ หรือไม่ใช่ผลของความเสี่ยงครั้งล่าสุดก็เป็นได้ สาเหตุมาจากการที่ร่างกายของคนเราไม่เหมือนกัน บางคนอาจมีโอกาสพบเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ช้า หรือเร็วกว่าอีกคน ผลมาจากแต่ละคนมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่าง หากช่วงเวลาที่รอตรวจหาเชื้อเอชไอวีอยู่ ก็ไม่ควรไปมีความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีซ้ำ ทำให้ต้องเลื่อนระยะเวลาออกไปตามความเสี่ยงครั้งล่าสุดด้วย แนะนำให้ทำการตรวจซ้ำอีกครั้งที่ระยะเวลา 3 เดือนจึงจะถือว่าผลเลือดนั้นมีความถูกต้องแม่นยำ
ช่วงระยะฟักตัว สำหรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี
ช่วงระยะฟักตัว สำหรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ในปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี ดังนี้
วิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวี | ระยะฟักตัว / วัน | เวลาที่รู้ผล |
Anti-HIV น้ำยา 3thGen | 21 วัน | 1 วัน |
Anti-HIV น้ำยา 4thGen | 14 วัน | 1 วัน |
Nucleic Acid Test : NAT | 5-7 วัน | 5 วัน |
ชุดตรวจ HIV ด้วยตัวเอง | 21 วัน – 90 วัน (3 เดือน) | 1 นาที |
แนะนำการตรวจหาเชื้อเอชไอวี สำหรับคนคิดมาก
สำหรับผู้ที่ผลเลือดเป็นลบ (Negative หรือ Non-Reactive)
ตรวจครั้งแรก : พิจารณา ระยะเวลาเสี่ยงที่ได้รับ หากกังวลใจมาก แนะนำตรวจ NAT ซึ่งมีความแม่นยำมาก ตรวจได้ที่ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ ราคาค่อนข้างสูง แนะนำว่ารอให้เกิน 21 วัน หรือ 1 เดือน จะเหมาะสม เพราะหากคุณตรวจแบบ p24 antigen testing และ Antibody ในชุดตรวจเดียวกันเลย ก็จำเป็นจะต้อง ตรวจอีกครั้ง เพื่อติดตามผลแอนติบอดี ที่ระยะเวลา 21 วัน หรือ 1 เดือน อีกทั้งการตรวจที่ 21 วัน หรือ 1 เดือน จะแม่นยำมากขึ้น เนื่องจากปริมาณ Antigen มีมากขึ้น และร่างกายสร้างแอนติบอดีแล้ว ผลที่ได้ก็จะมีความแม่นยำมาก
ตรวจซ้ำเพื่อเช็ค : สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
หากตรวจครั้งแรกแบบ NAT หรือ แบบ p24 antigen testing และ Antibody ในชุดตรวจเดียวกัน แนะนำให้ตรวจอีกครั้งที่เกิน 21 วัน หรือ 1 เดือน และอาจจะต้องตรวจอีกครั้ง ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน
หากตรวจครั้งแรกแบบ ตรวจหาภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อไวรัส (Antibody) แนะนำให้ตรวจอีกครั้ง หลังจากเสี่ยงเกิน 1 เดือน ไปแล้ว โดยอาจะตรวจ เมื่อไหร่ก็ได้ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน
ตรวจซ้ำเพื่อความสบายใจ : ตรวจเลือดหลังเสี่ยง 3 เดือน ในตอนนี้ก็สามารถสบายใจได้แล้ว เนื่องจากการตรวจครั้งนี้สามารถมั่นใจได้เกือบ 100% เพราะหากติดเชื้อเอชไอวีจริงในระยะเท่านี้จะต้องตรวจพบแอนติบอดี
โดยปกติทั่วไป ผู้ที่ได้รับความเสี่ยง บางรายอาจจะเลือก ตรวจเพียง 2 ครั้ง คือ ที่ 30 วัน และตรวจเช็คอีกครั้งที่ 3 เดือนหลังเสี่ยง เพียงเท่านี้ก็สามารถสบายใจได้ และเป็นการประหยัดเงินอีกด้วย
การตรวจหาเชื้อเอชไอวี หลังเสี่ยง 3 เดือน มั่นใจได้หรือยัง?
การตรวจหาเชื้อเอชไอวี ถ้าจะให้ผลตรวจที่ชัดเจน และเชื่อถือได้นั้น ต้องเป็นการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ห่างจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 1 เดือน ผลตรวจที่ได้จะมีความน่าเชื่อถืออยู่ที่ประมาณ 95% และตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 3 เดือน หลังจากที่ได้รับความเสี่ยงในครั้งสุดท้ายได้ เพราะเป็นการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในช่วงเวลานี้จะสามารถให้ผลตรวจ ที่มีความแม่นยำมากถึง 99.9%
ทั้งนี้หลังจากตรวจเช็คที่ 3 เดือนหลังเสี่ยงแล้ว ยังพบว่ามีหลายๆ ท่าน ที่ยังคงตรวจเช็คโรคนี้อยู่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ เพราะเป็นการช่วยให้ตนเองทราบผล และเป็นความสบายใจส่วนบุคคลมากขึ้น แต่โดยทั่วไป หากตรวจหลังเสี่ยง 3 เดือน แล้วไม่พบเชื้อ แพทย์จะให้ปิดเคสได้แล้ว
ช่วงระยะฟักตัว สามารถแพร่เชื้อเอชไอวี ได้หรือไม่ ?
แน่นอนว่าช่วงระยะฟักตัว ถือเป็นช่วงระยะเวลาที่ควรระมัดระวัง เพราะว่าเราอาจจะเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวีได้ ซึ่งเทียบเป็นระยะแฝงตัวของโรค และสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้มากที่สุด ทางที่ดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเพิ่มในระยะนี้ เช่น งดการมีเพศสัมพันธ์ งดการเปลี่ยนคู่นอน หรือพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ จนกว่าจะได้รับผลการตรวจหาเชื้อเอชไอวี เป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อน จึงจะสามารถวางแผนต่อไปได้ หากพบเชื้อเอชไอวีขึ้นมาจริง ๆ ก็จะได้ทำการรักษาเอชไอวีได้ทันท่วงที และหากไม่พบเชื้อเอชไอวี ก็จะได้ป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ตลอดไป
ใครที่ควรได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี
ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ จากพฤติกรรมเสี่ยงด้านเรื่องเพศ
ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนจะมีพฤติกรรมเสี่ยง
ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่มีความเสี่ยงโดยไม่ได้ป้องกัน
ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายทางทวารหนักโดยไม่ได้ป้องกัน
ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ผู้ติดสารเสพติดที่ใช้เข็มร่วมกัน
หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่วางแผนจะมีครอบครัว หรือต้องการตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งแม่และลูก
ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี
ผู้ป่วยวัณโรค เพราะวัณโรคเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยเอดส์ และการติดเชื้อเอชไอวี ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดวัณโรค
บุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
ผู้ที่ต้องการเดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศ (ใช้ในบางประเทศ) จึงต้องการข้อมูลสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพของร่างกาย
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระยะฟักตัว (Window period) ของการติดเชื้อเอชไอวี เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ว่าเมื่อใดจึงควรทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ในกรณีที่สงสัยว่าอาจจะสัมผัสเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือสามารถขอคำแนะนำ หรือคำปรึกษาจากผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เนื่องจากสามารถช่วยในการระบุระยะฟักตัว และสามารถแนะนำได้ว่าต้องทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวีเมื่อใด วิธีแบบใด จึงจะทราบผลตรวจที่แน่นอน นอกจากนี้ยังช่วยให้ทราบว่าจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำเพื่อติดตามผลหรือไม่ รวมถึงข้อควรต้องระวังอะไรบ้าง ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเพื่อด้านความปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี
Comments